วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หนาว..LED

















ดวงตาพร่ามัวแล้ว  แม่เอย
ชราเลยสังขาร..ดังใกล้ฝั่ง
เกียกกายเกลือกกลิ้ง ประวิงหวัง
แผ่นดินยัง เหลือให้ลูกปลูกกิน

หนังยานเหี่ยวแล้ว..ลูกเอย
เรี่ยวแรงเคยแกร่งกล้า..สูญสิ้น
หาผักและหญ้าในป่ากิน
บนแผ่นดินไม่ไร้..กรุณา

ลูกเอยเลี้ยงมาจนเติบใหญ่
ฝันใฝ่ทะยานแสง บรรเจิดกล้า
เจ้าขายแผ่นดิน...สิ้นเถียงนา
โอ้ดวงตาพร่ามัว..เมื่อเที่ยงวัน


แม่อยู่บ้านหลังเดิมอันเก่า..เก่า
แม่นึ่งข้าวเป่าไฟหากินค่ำ
นอนห่มผ้าผืนบาง..บาง หนาคมคำ
อยู่ตอกย้ำ
..ลูกต้องการ แต่ราคา


ชีวิตแม่..ใกล้ลาแล้ว..ลูกรัก
ผ้าห่มหมอนแม่ถัก รอให้เจ้า
ห่มเถิดนะ...หายหนาวพอบรรเทา
เป็นเรื่องเล่าความหนาว  แสงนีออน

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หมกไข่ปลา



แม่ไปไฮ่ เอาปิ้งไก่มาหา
แม่ไปนา หมกไข่ปลามาป้อน
แม่เลี้ยงม้อน อยู่ป่าสวนมอน
โอ้ ฮะโอว ฮะโอ้ ฮาวโอ๋..
หนึ่งบทเพลงกล่อมลูก ของชาวอีสาน ที่สะท้อนชีวิตได้เป็นอย่างดี
เป็นบทเพลงกล่อมที่มีชีวิตวิถีเปื้อนปนด้วยธรรมชาติ คลุกเคล้าด้วยระบบนิเวศ

เลี้ยงไก่อยู่ไฮ่  หาปลาอยู่นา  ทำสวนมอน เลี้ยงหม่อนไหม
ไฮ่ คือหยัง พะนะ ( พะนะ เป็นคำเสริมบท ย่อมาจาก พะนะโซนิค)
ไฮ่ (ภาษาอีสาน) แปลว่า ไร่ เด้อขะน้อย  ไร่อะไรหละ ไร่กาแฟหรือ บางคนซักไซ้
ไร่ที่ทำกันตามประสาชาวนาแต่กาลก่อน คือ ไร่ฝ้าย ไร่งา ไร่แตง ไร่ถั่ว
ทำกันที่หัวไร่ปลายนาคลุกเคล้าป่านั้นแหละครับ  ชาวนาอีสานสมัยก่อน
ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อขายข้าวจำนำข้าว พวกเขาทำไร่ หรือเฮ็ดไฮ่ ไว้เพื่อกินอยู่
ฝ้ายเอาไว้ ทำด้าย ทำเครื่องนุ่งห่ม งาเอาไว้เป็นเครื่องปรุงอาหารและยา
แตงเอาไว้กินเป็นผักอาหาร ถั่วเอาไว้ทำขนม และกินตามจังหวะชีวิต

สำหรับสวนมักจะทำใกล้กับแหล่งน้ำ เช่นลำห้วย หนอง ปลูกสารพัด ปลูกม่อน
ปลูกอ้อย ปลูกมะม่วง กล้วย ขนุน พืชกินใบกินดอกกินผล สารพัด
เพื่อไว้ดำรงชีวิตในฤดูแล้ง หลังจากฤดูทำนา
ที่กล่าวมาคือวิถี ครับ อีสานโทนๆ
ปัจจุบัน สตีฟ จ็อบ บอกว่า " จงหิวโหย จงสิ้นหวัง "  วิถีเดิมนั้นลืมสิ้น
ไม่ได้พัฒนาต่อยอดบรรพชน แถมดูถูกอีกต่างหาก "มันสิทันกินบ้อ"
การเกษตรที่เพาะบ่มวิญญาณนั้น แทบบ่เหลือแล้ว
เว้าควมยาวมันสาวควมยืด เว้ากำพืดฝรั่งเศสสิฮ้าย เข้าเรื่องเรื่องเลยดีกว่า















ชื่ออาหารพื้นเมือง  หมกไข่ปลา
ชื่อภาษาอังกฤษ     ยังคึดบ่ออก
ชื่อภาษาไทย(กลาง)  ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
อาหารชนิดนี้ถือว่า แซบ คัก ๆ แซบอีหลีออหลอ แซบกะด้อกะเดี้ย
เป็นอาหารที่กินตามฤดูกาลครับ ในฤดูน้ำขึ้นในอีสาน ปลาจากลำน้ำใหญ่
ขึ้นมาตามลำห้วย มาตามทาม (ทาม คือ พื้นลุ่มที่น้ำท่วมถึง  )
ชาวบ้านจับปลาได้หลากหลายชนิด หลายชนิดก็มีไข่ ติดมานำเป็นของแถมจากธรรมชาติ


วิธีประกอบอาหารเมนูนี้
1. ไส่ขี้ ปลา ( แปลไทยว่า ชำแหละท้องปลาเอาขี้ปลาและเครื่องในออก)
2. เลือกเอาจำเพาะไข่ปลา เอาขี้ปลาแยกออก ไปประกอบอาหารอีกชนิด
3.ล้างไข่ปลาให้สะอาดเตรียมไว้
4. ตัดตอง คือการไปตัดเอาตองกล้วย เน้นใบตองกล้อยทะนีออง
5.เอาไข่ปลาลงใส่ใบตอง เติมเกลือสินเธาว์จาก  อ.บ้านดุง อุดรธานี ลงนิด ๆ
6.เอาผักอีตู่ (แมงลัก) และผักหอมลงเล็กน้อย
7.เหยาะน้ำปลาแดก เพื่อความนัว
8.ห่อตอง 3 ชั้น นำไปหมกกับขี้เถ้าถ่านไฟ ให้สุก
   อาจใช้วิธีปิ้ง หรือนึ่งก็ได้ แต่หมกกับขี้เถ้าแซบกว่า
9.กล่าวคาถาบูชาแม่น้ำ " นาคะ นาคา นทีลำห้วย ควยตู้ลงทาม
   ไม้หีบมาหาม เอาตอกมามัด รึงรัดฮ่องห้วย ใบกล้วยมาวี
   มีปลามื้อนี้ แม่น้ำปันแจก ให้แลกกันกิน อย่าถมแม่น้ำ ตำไม้ใกล้ห้วย
โอมละรวยอามะภัณเต.. เอ้เล้ให้แข่น  สะหัมติด "



เมื่อสุกแล้วก็แกะออกมาได้กลิ่นหอม ทั้งใบตองและไข่ปลา
เอาข้าวเหนียวจ้ำ มีแฮง หละครับ ส่วนมากเพิ่นเอาให้เด็กน้อย
กับแม่ลูกอ่อนกิน   นี่หละหนอ อาหารแห่งนิเวศบ้านเฮา
หากแม่น้ำลำห้วยไร้ปูปลา ป่าไม้ป่าโคกสูญหาย ลำห้วยถูกม้าง
สิ่งต่างๆเหล่านี้ย่อมสูญหายไปทีละน้อย บ่เหลือความภาคภูมิ บ่เหลือเสรีภาพ





วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ลาบเทา















ชื่อภาษาอังกฤษ   Passion Spirogyra 
ชื่อภาษาไทย      ง้วนนที รสทิพย์
 ชื่อพื้นเมืองอีสาน   ลาบเทา

มีโอกาสกลับไปที่ จ.สกลนคร  นั่งคุยกับ อาวอยู่กระเทิบหน้าบ้าน  คุยกันเรื่อง บึ้ง
หลานสาวเรียนอยู่ ปวช.  ถามว่า อีหยังคือ บึ้ง”  พะนะ  เพิ่นบ่ฮู้จัก 
สักพัก พ่อเอิ้นกินข้าว มาแมะหล่า กินข้าวกับลาบเทา   เพิ่นตอบว่า
บ่กินดอกอีพ่อ  เอาเงินมาข่อยสิไปซื้อมาม่า มาต้มกิน
ขะน้อยนั่งอึ้ง  นึกไม่ถึงเจตคติของคนอีสาน ที่สืบสานวัฒนธรรม  โดนลบเลือนโดย คลื่นวัฒนธรรมต่างถิ่น
สิ้นวัฒนธรรมการกิน  วัฒนธรรมการครองตน  วัฒนธรรมทางความคิดอันพอเพียง เรียบง่าย
วัฒนธรรมศิลปะ ต่างๆ
นับมื้อถดถอย  “ขี้เดียดวัฒนธรรมตนเอง   มองเห็นอีซาเนีย อยู่ร่ำไร
มันเป็นตาขี้เดียดหม่อได๋  ลาบเทา  มาลองศึกษาให้แจ้งในกมล เบิ่ง


 












เทาคือ
Spirogyra
สไปโรไจรา เป็นสาหร่ายที่ชอบขึ้นในน้ำจืดที่สะอาดทั้งน้ำนิ่ง และน้ำไหลเอื่อยๆ มีสีเขียวเป็นเส้นกลมยาวขนาดเล็กพันกันเป็นเกลียวนิ่มลื่นมือพบได้ในแหล่งน้ำ
ภาคเหนือและอิสานเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า เทา
หรือผักไกนิยมนำมาบริโภคในรูปผักจิ้มน้ำพริก
ทำลาบ
และมีรายงานว่าเป็นสาหร่ายที่นิยมบริโภคในประเทศพะม่า เวียตนามและอินเดียด้วย  

เห็นบ่ คนวัฒนธรรมอื่นเขากะกินเทาคือกัน  มันต้องมีดีหละเขาจั่งกินกัน

 







 







ภาพแหล่งต้นน้ำจากป่าโคก น้ำใสไหลเย็นแบบนี้ มีเทาสะอาด แซบคัก

 ประโยชน์ของ เทา หรือ ขี้ตะหลืนน้ำ
ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
พบว่าสาหร่ายสีเขียวในนาข้าวบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน
เช่น แอมโมเนียม
ทำให้ข้าวเจริญเติบโต ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ Anabaena sp. และ Nostoc sp.  
(
เอาหละหว่าหนทางรอด สำรับเกษตรอินทรีย์ชาวนาไทย ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ เพราะนำเทา
มาปล่อยตามทุ่งนา
ธรรมชาติบำบัด ลดต้นทุน ทิ้งห่างเวียดนาม ชนิดไง่ง่อง)
สังเกต นาข้าวไผงามดินดี มักจะมีเทาขึ้นตามไฮ่นา
 
รับรองข้าวงาม ซ้างเหยียบตอเฟียงบ่ล้ม  คนโบราณว่า


ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สาหร่ายประกอบ ด้วยสารเคมีบางชนิดที่ช่วยในการรักษาผิวหนัง
ชนเผ่า
Kanembu ได้ใช้สาหร่ายเกลียวทองรักษาโรคผิวหนังบางชนิด การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า

เครื่องสำอางที่ผสมสาหร่ายและสารสกัดจากสาหร่ายช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นและลดริ้วรอย
ส่วนในประเทศไทย
ก็ได้มีบริษัทหลายแห่งที่ใช้สาหร่ายเป็นเครื่องสำอางในรูปครีมบำรุงผิว
(
เห็นบ่ ดาราละครผู้หล่อๆ สวย ๆ เพิ่นกะเอาเทาไปทาหน้า ให้ผุดผ่อง  )


ใช้ในอุตสาหกรรมยา นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์หลายท่านได้ทดลองใช้สาหร่าย
ในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคกระเพาะ อีกทั้งยังช่วยลดความเครียด
และความไม่สมดุลในร่างกาย ในประเทศฝรั่งเศส ได้ทดลองใช้ ธาตุแมกนีเซียมในคลอโรฟิลล์ ในสาหร่าย
ในการรักษาบาดแผล มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อป้องกันการเกิดของแบคทีเรีย
และช่วยสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ด้วย
คลอโรฟิลล์ในสาหร่ายมีโครงสร้างเหมือนสารสีแดงในเลือด
(
hemo-globin)
นักวิทยาศาสตร์จึงแนะนำให้ใช้คลอโรฟิลล์รักษาโรคโลหิตจาง
สาหร่ายบางชนิดสารปฏิชีวนะซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์
        
ซ้วด ! แล้วบาดนี้...เทามีประโยชน์กว่า มาม่า หลายพันเท่า

 

 












บรรพบุรุษชาวอีสานช่าง มองการไกล และมีวิสัยทัศน์  ในการนำเอาพืชที่มีประโยชน์อันนี้มาทำอาหาร
แต่พอตกมาถึง รุ่นหลานเหลน โหล่น  กลับรังเกียจเดียดฉันท์  
      
คนญี่ปุ่น คนจีน เขาไม่ทิ้งเจตจำนงแห่ง บรรพบุรุษ  ในทางกลับกัน
เขารักในวัฒนธรรมของเขา พัฒนาต่อยอด จากการกินสาหร่ายธรรมดาๆ  เป็น  นวัตกรรมใหม่  
ศึกษาและวิจัยต่อยอดจาก บรรพบุรุษ จนกระทั่งสร้าง สินค้าส่งออก  กรอกปากลูกหลานเฮา  
สังเกตจากร้านค้าในบ้านผม  มีแต่ ขนมสาหร่าย  สาหร่ายอัดแท่ง ยี่ห้อญี่ปุ่น
ยี่ห้อเกาหลี
  ยี่ห้อจีน
วางขายวัฒนธรรมการกินของเขา
สำหรับคนจบ นักธรรมเอก อย่างกระผม จึงมีความคิดว่า ใยเฮาบ่พัฒนาศึกษาวิจัย  
ต่อยอดความคิด
จากวัฒนธรรมการกินของ คนอีสานเฮาบ้าง  จะมัวอายใคร
อนุมานว่ากำพืดตนว่า
ต่ำต้อยเมื่อไหร่จะพัฒนาก้าวทันเพิ่น

นี่คือตัวอย่าง แนวทางการคิด ของขะน้อย  ส่งออกไปขายฮอด ยอดเขาหิมาลัยพู้น



















แห่งเว้าแห่งสูนพี่น้องเอ้ย   กลับมาเข้าเรื่องประเทืองความแซบ กันดีกว่าเนาะ
ส่วนประกอบ  ก็มี เทา   ปลาป่น   ข้าวคั่ว  พริกป่น น้ำปลาแดก  ผักหอมบั่ว 
ผักหอมเป  ผักแพรว
  ถั่วฝักยาว   มะเขือ    
ของกินกับ ก็คือ ผักต่าง
  ผักหูเสือ  และอย่าลืม  บักแข้งขม












 













วิธีทำ   1 ไปหา ทาวเอาเทา    ตามห้วยหนองคลองบึง ไฮ่นา ควรเลือกแหล่งน้ำที่สะอาด เชื่อใจได้
              
เทาจะเกิดก็ต่อเมื่อ มีอุณหภูมิและช่วงเวลาที่เหมาะสม ปีหนึ่ง มักจะเกิดแค่ 2 ครั้ง  
              
คือ ช่วงข้าวเขียว (กลางฤดูฝน ) และ ในฤดูหนาว

         2 นำเทามาล้างน้ำหลายๆครั้ง จนได้เนื้อเทาที่สะอาด สีเขียวมรกต 

4  นำปลาป่นมากวนลงไปให้เข้ากัน  แล้ว เทเครื่องปรุง เช่น ข้าวคั่ว  พริกป่น  ลงปรุงรส  ด้วยน้ำปลาแดก

           ข้อควรระวังในขณะ เทข้าวคั่วกับพริกป่นลงปรุง  อาจเกิดอาการแฮดดัง  จนต้องจาม
          
หากจะ จาม ต้องหันหน้า ออกจากกาละมังลาบเทา   ขณะจามแทนที่จะ เปล่งเสียง ฮัดเช้ย !
ให้อุทานจามคำว่า  “ ฮี้.....ส๊วด! แทน  มันเป็นคาถา
5
เอาผักหอมต่างๆ  (หั่นแล้ว) ลงกวนให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จ   ยกลงมาปันกัน ซูด
   
พร้อมผักใบเขียวต่างๆ ตาม อัธยาศัย  เติมรสชาติที่แท้จริงของชีวิตลงไป
   นั้นคือ บักแข้งขม   เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของวิญญาณ

     
คันบ่แซบกะ ขุ  ผงนัว ลงจั๊กหน่อย  อย่าลืมแบ่งแม่ใหญ่ต้อย  ผู้เลาป้อยผัวเป็น

อนึ่งลาบเทานั้น เป็นอาหารที่มีศิลปะในตัวเอง
คือสามารถ เพิ่มองค์ประกอบได้ตามจังหวะธรรมชาติ
เอาบักหอยต้ม ซอยผสมลงไปก็ได้ เอากบเขียดป่นแทนปลาผสมลงไปแทนก็ได้
เรียกได้ว่า ขึ้นอยู่กับช่วงนั้นหยิบจับวัตถุดิบใดได้จากธรรมชาติ พะนะ

นี่หละครับอาหารแห่งท้องถิ่น อัตลักษณ์ของคนอีสาน ที่ใช้ชีวิตอิงแอบระบบนิเวศ
           ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมแผ่นดินที่ราสูง เลี้ยงดูบรรพชนเฮามาตั้งแต่โบราณ
โคก ป่า ห้วย หนอง แม่น้ำ กุด เลิง ทาม นั้นแล เชื่อมต่อกันเป็นวิถีชีวิต

การสูญเสียสิ่งเหล่าไป ด้วยสาเหตุใดก็ตาม วิถีชีวิตย่อมเสื่อมถอย
สูญเสียอัตลักษณ์ สูญเสียความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม
สูญเสียวิญญาณ  สูญเสียคุณค่าของชีวิต เหลือเพียงชีวิตกรรมาชน

เสรีภาพเป็นเพียง วาทะกรรม
ของแหล่งทุน บ่อาจแปลความหมายธรรมชาติของโลกได้
ต้นทุนชีวิตโดยธรรมนั้นเสื่อมถอย  ผู้คนจึงเสื่อมทรามจากศีลธรรม